วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การบาดเจ็บทางกีฬาวอลเลย์บอลและการปฐมพยาบาล


การบาดเจ็บทางกีฬาวอลเลย์บอลและการปฐมพยาบาล

การบาดเจ็บจากการกีฬาเกิดขึ้นได้เสมอ กีฬาวอลเลย์บอลต้องอาศัย ความคล่องแคล่วว่องไว จึงอาจเกิดการปะทะชนกันเองระหว่างผู้เล่น ตลอดจนการผิดพลาดหกล้ม ปะทะ
สิ่งกีดขวางหรือกระแทกกับพื้นสนามจนต้องได้รับอันตรายบาดเจ็บได้

สาเหตุของอันตรายและการบาดเจ็บ


1. ตัวนักกีฬาเอง ในเรื่อง
* ความไม่เหมาะสมของรูปร่างกับประเภทกีฬา เพราะกีฬาบางประเภทนักกีฬาควรมีรูปร่างพิเศษเหมาะกับลักษณะการเล่นของกีฬา เช่น กีฬาวิ่งข้ามรั้ว อเมริกันฟุตบอล และรักบี้ เป็นต้น
* ความไม่สมบูรณ์ทางกายในด้านกล้ามเนื้อ ความอดทน ความคล่องแคล่วและความยืดหยุ่น เป็นต้น
* การบาดเจ็บในอดีต ทำให้ไม่สามารถใช้อวัยวะส่วนนั้นได้เต็มที่ หรือกลัวว่าจะได้รับบาดเจ็บซ้ำที่เดิมจนลืมป้องกันอวัยวะส่วนอื่น
* ขาดการเตรียมพร้อมก่อนลงแข่งขัน เป็นต้นว่า การอบอุ่นร่างกาย ชุดที่ใช้แข่งขัน และอุปกรณ์ป้องกัน
2. สาเหตุที่มาจากภายนอก เช่น อุปกรณ์กีฬา สนามแข่งขัน คู่แข่งขัน เป็นต้น

อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬาอาจเกิดขึ้นได้เสมอ บางครั้งก่อนที่แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญกำลังจะมา เราควรต้องทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธีก่อน เพื่อลดความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ ซึ่งการบาดเจ็บทางกีฬาวอลเลย์บอลที่มักเกิดขึ้นบ่อย ๆ ได้แก่

การบาดเจ็บทางผิวหนัง

1. ผิวหนังถลอก ( แผลถลอก )
การถลอก คือ การที่พื้นผิวบนของผิวหนังถูกแรงเฉือนให้หลุดไป แต่ไม่ลึกไปจนถึงชั้นของผิวหนังทั้งหมด อาจมีเลือดซึมออกมาเล็กน้อย หากไม่มีการติดเชื้อแทรกซ้อนแผลจะหายอย่างรวดเร็ว
บริเวณที่เกิดการถลอกบ่อย ๆ ได้แก่ ข้อศอก ข้อเข่า ตาตุ่ม เพราะผิวหนังส่วนนี้อยู่ชิดกับกระดูก เมื่อมีการลื่นไถลผิวหนังบริเวณเหล่านี้มักจะถูกบดอยู่ตรงกลางระหว่างพื้นแข็งและกระดูก
การปฐมพยาบาล
1. ห้ามเลือดโดยใช้ผ้า สำลี หรือนิ้วมือกดที่บาดแผล ยกส่วนที่เป็นบาดแผลให้สูงกว่าระดับหัวใจ
2. ทำความสะอาดบาดแผลโดยใช้น้ำสะอาด
3. ใส่ยาสำหรับแผลสด เช่น โพวิโดนไอโอดีน ยาแดง
4. ถ้าแผลใหญ่ให้นำส่งโรงพยาบาล เพื่อทำการรักษาต่อไป

2. ผิวหนังพอง

การพอง คือ การบาดเจ็บจากการแยกของชั้นผิวหนังด้วยกันเองออกไป โดยช่องระหว่างชั้นของผิวหนังที่แยกออกไปนี้ จะเต็มไปด้วยของเหลวจากเซลล์ข้างเคียงหลั่งออกมา การบาดเจ็บแบบนี้มักจะเกิดจากการที่ผิวหนังถูกเสียดสีจนชั้นของหนังกำพร้าแยกตัวออกจากชั้นของหนังแท้
การปฐมพยาบาล
1. ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่พองด้วยสบู่ ล้างน้ำสะอาดแล้วเช็ดด้วยแอลกอฮอล์
2. ใช้เข็มสะอาดเจาะบริเวณที่พองให้น้ำบริเวณใต้ผิวหนังส่วนนั้นออกมาจนหมด โดยให้มีแผลเปิดน้อยที่สุด และไม่จำเป็นต้องลอกผิวหนังบริเวณนั้นออก ยกเว้นเสียแต่ว่าผิวหนังบริเวณนั้นตายแล้ว จากนั้นแต้มด้วยยาฆ่าเชื้อ เช่น โพวิโดนไอโอดีน หรือทิงเจอร์ไอโอดีน ปิดด้วยพลาสเตอร์หรือป้ายด้วยยาจำพวกซิงค์ออกไซด์
3. หมั่นรักษาความสะอาดและพยายามรักษาให้บริเวณนั้นแห้งอยู่เสมอ และหลีกเลี่ยงการเสียดสีบริเวณนั้นจนกว่าแผลจะหาย ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 7 -10 วัน

3. ผิวหนังฟกช้ำ
การฟกช้ำ เกิดจากการที่มีแรงมากระแทก อาจมาจากวัสดุของแข็งที่ไม่มีคม ซึ่งทำให้เกิดบาดแผลบริเวณใต้ผิวหนัง เลือดซึมออกไปสู่เนื้อเยื่อข้างเคียง คั่งอยู่บริเวณข้างใต้ชั้นผิวหนัง
การปฐมพยาบาล
1. ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น หรือผ้าห่อเศษน้ำแข็งประคบทันทีที่ได้รับบาดเจ็บ พร้อมกับกดเบาๆ ประมาณ 5 -10 นาที ทำซ้ำ 2-3 ครั้ง จนแน่ใจว่าเลือดหยุดไหลแล้ว ความเย็นจะช่วยให้หลอดเลือดหดตัว ทำให้เลือดหยุดไหล และบรรเทาความเจ็บปวดได้
2. ภายหลังจากนั้น 24 – 48 ชั่วโมง ให้ประคบด้วยความร้อน เพื่อทำให้ก้อนเลือด
ใต้ผิวหนังสลายตัว

การบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ - ตะคริวที่กล้ามเนื้อ

เกิดจากมีการหดเกร็งชั่วคราวของมัดกล้ามเนื้อทั้งหมด ขณะที่มีการ
หดตัวทำให้กล้ามเนื้อมัดนั้นมีลักษณะแข็งเป็นลูกและเจ็บปวดมาก อาการเกร็งของตะคริวกล้ามเนื้อ เกิดขึ้นนอกเหนืออำนาจจิตใจ และเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาไม่นานก็หายไปเอง แต่อาจกลับเป็นซ้ำที่เดิมขึ้นมาอีกได้ ในบางครั้งกล้ามเนื้ออาจเป็นตะคริวพร้อม ๆ กันได้หลายมัด

หลักในการปฐมพยาบาลกล้ามเนื้อตะคริว คือ พยายามให้กล้ามเนื้อกลับไปอยู่ในท่าคลายตัว โดยผู้ที่ทำการปฐมพยาบาลต้องพยายามเหยียดกล้ามเนื้อ หรือคลายกล้ามเนื้อมัดนั้นช้า ๆ ด้วยความระมัดระวัง นุ่มนวล ไม่ทำอย่างกะทันหันและรุนแรง ไม่ใช้กำลังในเหยียดหรือคลายกล้ามเนื้อมากเกินควร หากมีการฝืนหรือต้านกำลังมากอาจทำให้กล้ามเนื้อมัดนั้นเกิดการบาดเจ็บมากขึ้นได้ ขั้นตอนการปฐมพยาบาลมีดังนี้
1. หยุดพักการออกกำลังกายทันที ถ้ามีเครื่องพันธนาการ เช่น สนับเข่า หรือผ้ายืดรัดอยู่ให้ปลดออกทันที
2. ให้ผู้ป่วยนั่งเหยียดเท้าตึงตัวตั้งฉาก
3. ค่อย ๆ ดันปลายเท้าผู้ป่วยเข้าหาตัวผู้ป่วย กล้ามเนื้อน่องจะค่อย ๆ คลายตัวออกหรือยืดออก
4. ประคบด้วยกระเป๋าน้ำร้อน หรือถูนวดเบา ๆ ด้วยน้ำมันร้อน ๆ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือดให้ไปยังบริเวณนั้นมากขึ้น




ารบาดเจ็บที่ข้อต่อและเอ็นยึดข้อต่อ

ข้อเท้าแพลง หมายถึง การที่เอ็นยึดข้อเท้าได้รับบาดเจ็บ การบาดเจ็บจะมีมากหรือน้อยย่อมแตกต่างกันไปสุดแท้แต่กรณี
ข้อเท้าแพลงชนิดเอ็นยึด ทำให้รู้สึกเจ็บปวดหรือเจ็บเสียวข้อเท้าตรงบริเวณที่เอ็นยึด ความเจ็บจะเพิ่มมากขึ้น ถ้าใช้นิ้วกดไปตรงบริเวณนั้น หรือทำให้มีการเคลื่อนไหวหรือบิดหมุนข้อเท้า นอกจากนี้ข้อเท้าจะบวม ซึ่งอาจบวมทันทีจากการที่หลอดเลือดบริเวณนั้นฉีกขาด ทำให้เลือดคั่ง อาการบวมมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณของเลือดที่ออก แต่ถ้าไม่มีหลอดเลือดฉีกขาดอาการบวมจะไม่ปรากฏในระยะแรกแต่จะมาปรากฏในระยะหลัง คือ ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งเกิดจากการบวมตัวของเส้นเอ็นที่ยึดและอักเสบ เส้นเอ็นที่บวมตัวนี้ความเหนียวและความทนทานจะลดลง หากได้รับบาดเจ็บซ้ำจะทำให้ฉีกขาดออกจากกันได้ง่าย แต่ถ้าได้พักรักษาถูกต้องตามขั้นตอน ข้อเท้าแพลงชนิดเอ็นยึดก็จะหายได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว
การปฐมพยาบาล
เมื่อเอ็นยึดสิ่งที่ต้องทำทันทีและทำพร้อมกัน คือ การพักด้วยการยกข้อเท้าให้สูงไว้และประคบเย็นโดยทันทีที่ได้รับบาดเจ็บ จะต้องจัดการให้ข้อเท้าข้างนั้นได้พักอยู่นิ่ง ๆ ไม่ควรเคลื่อนไหวข้อเท้าโดยไม่จำเป็น ยกข้อเท้าที่บาดเจ็บให้สูง ถ้านอนราบควรใช้หมอนหนุนเท้าข้างนั้นให้สูง ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือผ้าห่อน้ำแข็งทุบละเอียด ประคบตรงบริเวณที่เจ็บหรือบวมวันละหลาย ๆ ครั้ง เสร็จแล้วพันข้อเท้าด้วยผ้ายืดหรือตรึงข้อเท้าด้วยพลาสเตอร์เพื่อจำกัดการเคลื่อนไหวข้อเท้า

การประคบเย็น สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บและระงับอาการบวม ได้ผลดีในระยะไม่เกิน 3 วันแรกที่ได้รับบาดเจ็บ ภายหลัง 3 วันอาการอาการบวมจะคงตัวหรือเริ่มลดลง ซึ่งการประคบเย็นจะหมดความจำเป็นให้ต่อด้วยการประคบร้อน

การประคบร้อน ด้วยการชโลมน้ำมันร้อน ทาด้วยบาล์มร้อน ตลอดจนการคลึง นวดเบา ๆ ตรงบริเวณที่บวมจะทำให้การไหลเวียนเลือดบริเวณนั้นดีขึ้น ซึ่งสามารถช่วยให้อาการอักเสบและอาการบวมลดเร็วขึ้น ระยะนี้เริ่มเคลื่อนไหวข้อเท้าได้บ้างถ้าไม่เจ็บ แต่ยังไม่ควรให้ลงน้ำหนักที่ข้อเท้าอย่างเต็มที่ การยืนหรือเดินระยะทางสั้น ๆ ควรมีไม้เท้าช่วยค้ำยัน การรักษาโดยวิธีกายภาพบำบัดอย่างถูกต้องในช่วงระยะตั้งแต่วันที่ 3 จนถึงวันที่ 10 นี้ จะช่วยให้เอ็นที่ยึดคืนตัวสู่สภาพปกติ หรือเกือบปกติ และการเคลื่อนไหวข้อเท้าและการลงน้ำหนักข้อเท้าก็ทำได้เกือบปกติเช่นเดียวกัน แต่ในการเดินในระยะทางไกล ๆ ในช่วงแรกของการหายนี้ควรมีผ้ายืดพันหรือสวมสนับข้อเท้า เพื่อช่วยกระชับข้อเท้าขณะที่ขึ้นลงบันไดที่ลาดชัน หรือในการเดินลงน้ำหนักที่ข้อเท้าเป็นเวลานาน ๆ

ข้อเคลื่อน
ข้อเคลื่อน คือ ลักษณะที่ปลายหรือหัวกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นข้อต่อนั้นเคลื่อน หรือหลุดออกไปจากที่อยู่ตามปกติ อันเกิดจากถูกกระชาก ชน เหวี่ยง โดยจะมีอาการดังนี้
1. บวมและปวดมากบริเวณข้อนั้น
2. รูปร่างของข้อจะเปลี่ยนแปลงผิดไปจากเดิม เช่นบวมโต สั้น หรือยาวกว่าปกติ
3. อาจพบปลายกระดูกส่วนที่เคลื่อน หรือหลุดดันนูนขึ้น เห็นได้ชัด หรือจับคลำดูก็ทราบได้
4. ข้อจะติดขัดเคลื่อนไหวไม่ได้ เมื่อจับพลิกไปข้างหน้า ข้างหลัง หรือด้านข้างจะเจ็บปวดมากที่สุด
ารปฐมพยาบาล
1. อย่าพยายามดึงข้อให้เข้าที่ เพราะอาจเกิดอันตรายถึงกระดูกหักได้
2. ถ้าปวดมากควรใช้น้ำแข็งประคบ
3. ให้ข้อนั้นอยู่นิ่ง ๆ ในท่าที่เป็นอยู่ อย่าเคลื่อนไหวใด ๆ
4. รีบนำส่งแพทย์โดยด่วน การทิ้งผู้ป่วยไว้นาน ๆ จะทำให้ดึงเข้าที่ยาก

1 ความคิดเห็น:

PG SLOT กล่าวว่า...

บทความ pg slot แหล่งรวมบทความสล็อต เว็บไซต์พนันสล็อตออนไลน์ ที่ได้รับความนิยมที่มาพร้อมทั้ง PG Slot เกมสล็อตออนไลน์ ประสิทธิภาพ น่าเล่นที่ใครๆก็ต่างมีความสนใจอย่างยิ่ง